ดาร์วิด พร๊อพเพอร์ตี้ คาดตลาดบ้านมือสองปี 66 สดใส มั่นใจมาตรการรัฐกระตุ้นการซื้อ

ดาร์วิดพร๊อพเพอร์ตี้ฯ เปิดมุมมองตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองปี 2566 มีแนวโน้มสดใส เนื่องจากรัฐขยายมาตรการกระตุ้นตลาดลดภาษีและค่าธรรมเนียมการโอน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายขึ้น

นางดรุณี รุ่งเรืองผล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาร์วิด พร๊อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสองมีความคึกคักพอสมควร เนื่องจากมีมาตรการต่างๆ จากภาครัฐมาช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เพราะในรอบปี 2565 ที่ผ่านมาทั้งผู้ซื้อหรือผู้ขายได้รับประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ การลดค่าธรรมเนียมโอนจาก 2% เหลือ 0.01% ค่าจดจำนอง 1% เหลือ 0.01%

ทั้งนี้ สำหรับการซื้อ-ขายบ้านมือสองนั้น ปกติแล้วจะมีการตกลงกันว่าค่าธรรมเนียมโอน ค่าภาษีเงินได้ ค่าอากร หรือค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เจ้าของบ้านหรือผู้ซื้อใครเป็นผู้รับผิดชอบ แต่โดยส่วนใหญ่ค่าธรรมเนียมโอนจะผลักให้เป็นภาระของผู้ซื้อ สมมติว่าในราคา 1 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมโอน 2% ทำให้ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2 หมื่นบาท แต่มาตรการดังกล่าวทำให้ค่าธรรมเนียมการโอนเหลือเพียง 100 บาท นอกจากนี้แล้วผู้ซื้อบ้านผ่านการขอสินเชื่อจะได้รับสิทธิลดค่าจดจำนองเหลือเพียง 0.01% นั่นหมายความว่าบ้านราคา 1 ล้านบาท จะเสียค่าจดจำนองจาก 10,000 บาท จะเหลือเพียง 100 บาทเท่านั้น ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีความกังวลว่าหากรัฐบาลไม่ต่ออายุมาตรการดังกล่าว อาจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 เพราะผู้บริโภคจะมีตุ้นทุนในการซื้อมากขึ้น แต่หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในปี 2565 จึงทำให้มั่นใจได้ว่าตลาดอสังหาริทรัพย์มือสองในปี 2566 น่าจะมีแนวโน้มที่ดีเช่นเดียวกับปี 2565 เนื่องจากได้ขยายมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เหลือ 1% ถึงแม้ว่าจะไม่ลดเท่ากับมาตรการปี 2565 ก็ตาม และลดค่าจดจำนองจากร้อยละ 1% เหลือร้อยละ 0.01% สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง

นางดรุณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงที่ผ่านมาตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองได้รับความสนใจจากผู้ซื้อที่อยู่อาศัยและนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทรัพย์ NPA ที่มีความได้เปรียบด้านราคาขายและทำเลที่ตั้งรวมทั้งความหลากหลายของสินค้า หากมีมาตรการต่าง ๆ จากภาครัฐมาช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น มั่นใจได้ว่าภาพรวมของตลาดในปี 2566 จะกลับมาคึกคักอย่างแน่นอน

About Kansuchaya Suvanakorn

ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจมาเกือบ 30 ปี

View all posts by Kansuchaya Suvanakorn →

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *